ไขทุกข้อข้องใจของ สาเหตุการเป็นตะคริว

ตะคริว อาการทางกล้ามเนื้อชนิดหนึ่ง ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลา จนบางครั้งก็เป็นสาเหตุที่นำมาสู่อันตราย ที่อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งอาการของตะคริว เกิดขึ้นมาจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน นอกเหนือไปจากภาวะที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน ไม่ได้ตั้งตัวแล้ว ตะคริวยังสามารถเกิดได้หลายจุดภายในร่างกายอีกด้วย

ไม่ว่าจะเป็น ขา หลัง หน้าท้อง แทน ซึ่งการเกิดตะคริวในแต่ละจุด ก็จะเกิดขึ้นมาจากปัญหาที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาไขข้อข้องใจของสาเหตุการเป็นตะคริว ว่าเป็นได้อย่างไร รักษาแบบไหน ป้องกันได้หรือเปล่า ซึ่งน่าจะมีประโยชน์สำหรับใครหลายๆ คนอย่างแน่นอน

ตะคริวเกิดมาจากอะไร

ตะคริว หนึ่งในอาการที่ทุกคนมักจะเกิดขึ้น ซึ่งก็แล้วแต่สถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ถือว่าเป็นอาการที่ระมัดระวังได้ยาก เพราะบางครั้งนึกจะเกิด ก็เกิดในทันที จนทำให้ไม่สามารถควบคุมการเกิดตะคริวได้ เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพามาดูว่าสาเหตุของการเป็นตะคริว เกิดขึ้นได้จากอะไรบ้าง

  • กล้ามเนื้อที่ทำงานหนักมากเกินไประหว่างการทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • ระบบไหลเวียนเลือดที่ไปยังกล้ามเนื้อเกิดการหยุดเฉียบพลัน
  • ประสาทเกิดการทำงานผิดปกติในขณะนอนหลับ
  • เกิดได้จากโรคบางโรค เช่น โรคตับ และโรคไต
  • ร่างกายเกิดสภาวะผิดปกติ เช่น ร่างกายขาดเกลือแร่ ร่างกายมีสารพิษหรือเกิดการติดเชื้อ
  • เกิดจากการใช้ยาบางกลุ่ม เช่น ยาขับปัสสาวะ หรือยาราโลซิฟีน เป็นต้น

 นอกจากที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ความเสี่ยงที่สามารถเพิ่มโอกาสในการเป็นตะคริวได้นั่นก็คือ ภาวะร่างกายขาดแคลเซียม เพราะฉะนั้นสตรีที่กำลังอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ จคงมีความเสี่ยงเพิ่มมากกว่าปกติ เพราะช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นช่วงที่ร่างกายมีปริมาณแคลเซีสมในเลือดต่ำ และอาจจะเกิดจากภาวะต่างๆ ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ได้ เช่น ตำแหน่งของมดลูก หรือการมีถึงซีสต์ เพราะฉะนั้นผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์จึงถือว่าควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษมากกว่าปกตินั่นเอง

การป้องกันตะคริว ที่สามารถทำได้

การเป็นตะคริว หลายคนอาจจะมองว่าเป็นอาการปกติ ที่ไม่ร้ายแรง แต่ต้องบอกเลยว่าจริงๆ แล้ว ตะคริว สามารถบ่งบอกความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในร่างกายได้ ที่อาจจะส่งผลในระยะยาว ถ้าหากแก้ไขไม่ตรงจุด ซึ่งการป้องกันตะคริวสามารถทำได้ดังต่อไปนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียม เช่น ปลา และนม ส่วนในสตรีตั้งครรภ์ให้เน้นโปแตสเซียมและแมกนีเซียม เช่น ผักโขม หรือลูกเกด เป็นต้น
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ และงดการดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน
  • ยืดเส้นยืดสายกล้ามเนื้อก่อนเริ่มออกกำลังกาย
  • ระมัดระวังการยกของหนัก หรือการทำกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อหนักอย่างต่อเนื่อง
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หลังการทานอาหาร
  • นำหมอนรองขาให้สูงขึ้นประมาณ 10 เซนติเมตร

ตะคริว เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เกิดขึ้นได้กับทุกเพศ และทุกวัย ซึ่งถ้าหากเรารู้วิธีป้องกัน วิธ๊รับมือที่ถูกต้อง ก็จะสามารถช่วยป้องกัน และบรรเทาอาการตะคริวได้ดีมากขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันอาการต่างๆ ที่อาจจะเป็นอัตราได้โดยตรงในระหว่างที่มีภาวะตะคริวนั่นเอง