เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง เหมาะใช้งานแบบไหน มีข้อดี ข้อควรระวังอะไรบ้าง

เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง คือ เสาเข็มประเภทคอนกรีตเสริมเหล็กมีลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยม ด้านในเป็นรูกลวงด้านที่มีรูใหญ่จะเป็นด้านล่าง ด้านที่มีรูเล็กจะเป็นด้านบน โดยการตอกต้องตอกจากด้านบนลงมา เพื่อให้เสาเข็มสัมผัสกับดินจนเกิดแรงเสียดทานทำให้มีความแน่นแข็งแรงมากขึ้น

เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง เหมาะกับการใช้งานลักษณะไหน

งานที่รับน้ำหนักคานคอดิน หากการก่อสร้างไม่สามารถตอกเสาเข็มขนาดใหญ่เพื่อใช้รับน้ำหนักคานคอดินได้ การให้ใช้เสาหกเหลี่ยมประมาณ 4-6 ต้น ตอกรวมสามารถทดแทนได้

งานปูพรม การก่อสร้างเช่นล้านจอดรถ พื้นโกดัง ที่ต้องรับน้ำหนักทั่วทุกส่วน จะใช้เสาเข็มหกเหลี่ยมตอกด้านล่างของพื้นที่ทั้งหมด โดยแต่ละต้นจะห่างกันประมาณ 3 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของเสาเข็ม

งานฐานเสารั้ว การทำรั้วบ้านหากไม่สามารถตอกหรือเจาะเสาเข็มขนาดใหญ่ได้ การใช้เสาเข็มหกเหลี่ยมตอกรวมกันสำหรับทำฐานจะช่วยให้เสาแข็งแรงไม่ทรุดไม่เอียง

งานฐานต่อเติม หากต้องการต่อเติมบ้านหรืออาคาร แต่ไม่สามารถตอกเสาเข็มได้เพราะอาจส่งผลให้อาคารทรุด การใช้เสาเข็มหกเหลี่ยมมาตอกเพื่อรับน้ำหนักป้องกันการทรุดของส่วนที่ต่อเติมก็สามารถทำได้

ข้อดี เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง

  • ด้วยขนาดที่เล็ก จึงสามารถใช้แรงงานขนย้ายไปยังพื้นที่แคบ ๆ ได้ง่าย จึงเหมาะกับงานที่เข้าถึงได้ยากเช่นในซอย ที่เสาขนาดใหญ่ยากจะเข้าถึง
  • สามารถใช้เครื่องมือขนาดเล็ก หรือแรงงานคนตอกได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องใช้ปั้นจั่นหรือเครื่องจักรหนัก
  • เหนือจากภายในมีลักษณะเป็นรูกลวง จึงทำให้มีน้ำหนักเบาจึงง่ายทั้งการขนส่ง และใช้งาน
  • เสาเข็มชนิดนี้จะมีราคาถูกหากเทียบเสาเข็มขนาดเล็กแบบอื่น ที่รองรับน้ำหนักได้เท่ากัน

สิ่งที่ควรระวังในการใช้ เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง

  • เป็นเสาเข็มมีพื้นที่สัมผัสน้อย ความลึกไม่มากทำให้มีขีดจำกัดในการรับน้ำหนัก หากต้องการใช้เป็นเสาเข็มของอาคารบ้านเรือน ต้องใช้หลายต้นรวมกันถึงจะรับน้ำหนักได้
  • การที่จะให้เสาเข็มหกเหลี่ยมรองรับน้ำหนักได้มาที่สุดคือต้องตอกลงในดินเท่านั้น หากใช้การเจาะวางถือเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง เพราะจะรับน้ำหนักได้ไม่เต็มที่ อาจทำให้อาคารทรุดตัวในภายหลังได้

จะเห็นได้ว่า เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง ไม่สามารถรับน้ำหนักที่สูงได้ดีมากนัก แต่ก็สามารถนำมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักได้ โดยต้องตอกเสาเข็มให้อยู่รวมกัน หรือกระจายให้ทั่วพื้น ซึ่งจะต้องผ่านการคำนวณของวิศวกรผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ถึงจะมีความปลอดภัย และแข็งแรงมากที่สุด