ถ้าหากเปรียบเทียบเป็นบัตรประชาชน ที่ทำหน้าที่ในการยืนยันหลักฐานที่สำคัญที่นำเอามาใช้เพื่อเป็นการยืนยันตัวบุคคล ป้ายทะเบียนรถ ก็คงจะทำหน้าที่ไม่แตกต่างกันสักเท่าไหร่ เพราะป้ายทะเบียนรถ ก็ทำหน้าที่ในการยืนยันความเป็นเจ้าของรถเช่นเดียวกัน
ซึ่งกฎหมายก็กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่า รถทุกคันจะต้องติดป้ายทะเบียนอย่างถูกต้อง ซึ่งก็ต้องบอกเลยว่าป้ายทะเบียนก็มีหลายรูปแบบ แต่ละแบบก็จะบอกลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาบอก ป้ายทะเบียนแต่ละประเภท ว่ามันคืออะไร และใช้เพื่ออะไร เผื่อว่าจะมีประโยชน์ในการตัดสินใจในครั้งต่อๆ ไป
-
ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวอักษรสีดำ
สำหรับประเภทแรก นั่นก็คือ รถที่มีป้ายทะเบียนพื้นสีขาวสะท้อนแสง ซึ่งจะมีตัวหนังสือสีดำ ป้ายทะเบียนประเภทนี้ก็คือ ทะเบียนรถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง (Sedan, Not more than 7 Pass.) เช่น รถเก๋งทั่วไป หรือรถยนต์โดยทั่วไปที่ไม่ใช่รถบรรทุก หรือรถมอเตอร์ไซต์ส่วนบุคคล (Motorcycle) มีรายละเอียดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย. 1) และรถจักรยานยนต์ (รย.12)
-
ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวอักษรสีน้ำเงิน
ป้ายทะเบียนประเภทต่อมานั่นก็คือ ป้ายทะเบียนรถพื้นสีขาวสะท้อนแสง ซึ่งจะมีตัวหนังสือสีน้ำเงิน ป้ายทะเบียนประเภทนี้ก็คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์ประเภทส่วนบุคคลที่มีที่นั่งมากกว่า 7 ที่นั่ง (Microbus & Passenger Van) เช่น รถตู้ รถสองแถว มีรายละเอียดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย. 2)
-
ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวอักษรสีเขียว
ป้ายทะเบียนประเภทต่อมาก็คือ ป้ายทะเบียนพื้นสีขาว ซึ่งจะมีตัวหนังสือสีเขียว คือ ป้ายทะเบียนประเภทนี้ก็คือ ป้ายทะเบียนรถบรรทุกส่วนบุคคล (Van & Pick Up) สำหรับรถกระบะทุกประเภท รวมไปถึงรถตู้ที่ใช้บรรทุกสินค้า และรถเฉพาะกิจบางประเภท ทั้งนี้ รถกระบะบางคันอาจมีป้ายทะเบียนสีขาว ตัวหนังสือสีดำ เนื่องจากได้จดทะเบียนรถเป็นรถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคล
-
ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวอักษรสีแดง
ป้ายทะเบียนประเภทต่อมาก็คือ ป้ายทะเบียนพื้นเป็นสีขาวอักษร ซึ่งจะมีตัวหนังสือสีแดง ป้ายทะเบียนประเภทนี้ก็คือ ป้ายทะเบียนรถสามล้อส่วนบุคคล บรรทุกไม่เกิน 7 ที่นั่ง (Motortricycle) มีรายละเอียดรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล (รย. 4)
-
ป้ายทะเบียนสีเหลือง ตัวอักษรสีแดง
ป้ายทะเบียนประเภทต่อมาก็คือ รถที่มีป้ายทะเบียนรถสีเหลืองสะท้อนแสง ซึ่งจะมีตัวอักษรสีแดง ป้ายทะเบียนประเภทนี้ก็คือ รถยนต์รับจ้างที่วิ่งระหว่างจังหวัด (Interprovincial Taxi) มีรายละเอียดรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด (รย. 5)
-
ป้ายทะเบียนสีเหลือง ตัวอักษรสีดำ
ป้ายทะเบียนประเภทต่อมาก็คือ ป้ายทะเบียนรถพื้นสีเหลืองสะท้อนแสง ซึ่งจะมีตัวหนังสือสีดำ ป้ายทะเบียนประเภทนี้ก็คือ ป้ายทะเบียนสำหรับรถยนต์รับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 7 ที่นั่ง (Urban Taxi) หรือรถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ (Public Motorcycle) มีรายละเอียดรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน (รย. 6) และรถจักรยานยนต์สาธารณะ (รย.17)
-
ป้ายทะเบียนสีเหลือง ตัวอักษรสีน้ำเงิน
ป้ายทะเบียนประเภทต่อมาก็คือ รถที่มีป้ายทะเบียนรถสีเหลืองสะท้อนแสง ซึ่งจะมีตัวอักษรสีน้ำเงิน ป้ายทะเบียนประเภทนี้คือ รถยนต์รับจ้าง 4 ล้อขนาดเล็ก (Fixed Route Taxi) มีรายละเอียดรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง (รย. 7)
-
ป้ายทะเบียนสีเหลือง ตัวอักษรสีเขียว
ป้ายทะเบียนประเภทต่อมาก็คือ ป้ายทะเบียนรถสีเหลืองสะท้อนแสง ซึ่งจะมีตัวอักษรสีเขียว ป้ายทะเบียนประเภทนี้ก็คือ ป้ายทะเบียนสำหรับรถสามล้อรับจ้าง (Tuk Tuk) มีรายละเอียดรถยนต์รับจ้างสามล้อ (รย. 8)
-
ป้ายทะเบียนสีเขียว ตัวอักษรสีขาว/สีดำ
ป้ายทะเบียนประเภทต่อมาก็คือ รถที่มีป้ายทะเบียนสีเขียวสะท้อนแสง ซึ่งจะมีตัวหนังสือสีขาวหรือสีดำ ป้ายทะเบียนประเภทนี้ก็คือ รถสำหรับธุรกิจบริการ (Hotel Taxi) รถบริการทัศนาจร (Tour Taxi) และรถให้เช่า (Car For Hire) มีรายละเอียดรถยนต์บริการธรุกิจ (รย. 9) รถยนต์บริการทัศนาจร (รย.10) และรถยนต์บริการให้เช่า (รย.11)
-
ป้ายทะเบียนสีส้ม ตัวอักษรสีดำ
ป้ายทะเบียนประเภทต่อมาก็คือ รถที่มีป้ายทะเบียนรถสีส้มสะท้อนแสง ซึ่งจะมีตัวหนังสือเป็นสีดำ ป้ายทะเบียนรถประเภทนี้ก็คือ รถแทรกเตอร์ (Tractor) รถบดถนน (Road Roller) รถที่ใช้ในทางเกษตรกรรม (Farm Vehicle) และรถพ่วง (Automobile Trailer) มีรายละเอียดรถแทรกเตอร์ (รย.13) รถบดถนน (รย.14) รถใช้งานเกษตรกรรม (รย.15) และรถพ่วง (รย.16)
ไม่ว่าจะขับขี่รถที่มีป้ายทะเบียนประเภทไหนก็ตาม การขับขี่ด้วยความปลอดภัย ไม่ประมาณ คือสิ่งที่สำคัญมากที่สุด เพื่อที่จะทำให้ตลอดทุกเส้นทางในการเดินทางมีความปลอดภัย ซึ่งเราหวังว่าประเภทต่างๆ ของป้ายทะเบียนที่นำเอามาให้ได้ดูกันในวันนี้ น่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับใครหลายๆ คนอย่างแน่นอน โดยที่จะมีบทความดีๆ เหล่านี้มาให้ได้ดูกันเป็นประจำเพื่อประโยชน์ในการขับขี่ของทุกคน